วัดป่าคำพิมูล วัดป่าธรรมนิติ บ้านป่าบุ่น
ประวัติวัดป่าบ่น วัดป่าคำพิมูล
วัดป่าคำพิมูลเดิมทีชาวบ้านเรียกว่าวัดป่า วัดป่า ซึ่งหมายถึงวัดป่าบ้านป่าบุ่น คือมีต้นหวายบุญหรือต้นหวายบุ่นลำใหญ่ๆจำนวนมาก ซึ่งต่อมาหมู่บ้านนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านคำพิมูล ผู้มาวัดป่าแห่งนี้ จึงซื่อว่ามาวัดป่าคำพิมูลไปด้วย ตามชื่อของหมู่บ้าน โดยมีนายใจดี ตินะโส เป็นผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น ซึ่งอยู่ในเขตของหมู่ ๓ บ้านคำพิมูล ต.ทุ่งคลอง อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ปัจจุบัน บนเนื้อที่ ๒๐ไร่เศษ โดยได้รับการถวายจากพ่อใบ ปันทะนนท์ แม่จอน ปันทะนนท์ ดังนี้.
ทิศเหนือ ติดกับที่ดินของแม่ออกบัน ปันทะนนท์ พ่อออกส่วน กงกาหน
ทิศใต้ ติดกับที่ดินของครูทองมา โยคะสิงห์
ทิศตะวันออก ติดกับที่ดินของแม่ออกบัน ปันทะนนท์ พ่อออกส่วน กงกาหน
ทิศตะวันตก ติดกับที่ดินของพ่อใหญ่คำเภา ปันทะนนท์
วัดป่าคำพิมูลนี้ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๘๙ ในราวนี้ สภาพวัดเป็นป่าไม้ธรรมชาติที่อยู่กับพื้นที่ดินเดิม ส่วนใหญ่เป็นไม้กุง ส่วนต้นหวายบุ่นนั้นสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่วัดป่านี้ยังคงใช้ชื่อ ”วัดป่าคำพิมูล” ตามชื่อหมู่บ้าน คนส่วนมากมักจะเรียกแค่วัดป่าธรรมดา หมายถึง วัดป่าคำพิมูลนั้นเอง
เดิมทีหลวงพ่อแพง ซึ่งเป็นพระมาจากฝั่งลาว ได้มาอยู่พำนักอาศัยเป็นรูปแรก ต่อมามีพระจาริกมา มาพักอยู่ด้วย ๓ รูปบ้าง ๕ รูปบ้าง มารูปเดียวบ้างแต่ไม่ได้อยู่จำพรรษา หลังจากนั้นเมื่อหมดรุ่นหลวงพ่อแพงแล้ว ก็ไม่มีพระอยู่จำพรรษาอีก จึงเป็นวัดร้าง ซึ่งเหลือเพียงกุฏิ ๑ หลังให้เห็นเป็นหลักฐาน ชาวบ้านจึงเรียกกันว่าวัดป่าจนติดปากจนถึงปัจจุบัน
หมายเหตุ ที่มาโดยข้อมูลจากลูกๆของเจ้าของที่ดินเดิม (ที่ข้างเคียง) และชาวบ้าน บ้านคำพิมูล.
ประวัติวัดป่าธรรมนิติ วัดป่าบุ้น วัดป่าคำพิมูล บ้านป่าบุ้น บ้านคำพิมูล
วัดป่าธรรมนิตินี้ ตั้งอยู่ในเขตของหมู่ ๓ ต.ทุ่งคลอง อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ห่างจากทางแยกถนนเข้ามา ๗๐๐ เมตร อาวาสนี้เดิมทีเป็นวัดร้างมาก่อน ซึ่ง ชาวบ้านเรียกกันเพียงวัดป่า เฉยๆ หรือป่าบุ่น หรือป่าคำพิมูล, บ้านป่าบุ่น หรือบ้านคำพิมูลในเวลาต่อมา อนึ่งในปีพ.ศ. ๒๔๘๙ ได้มีท่านหลวงพ่อแพง อายุ ๖๐ กว่าปี มาอยู่พำนักพักอาศัยอยู่ ณ. สวนป่าแห่งนี้เพราะเป็นป่าไม้ร่มรื่นสมบูรณ์ ตอนนั้นมีแม่ขาวชื่อแม่ออกเนามาอยู่รักษาศีลอยู่ด้วย หลวงพ่อแพงนั้นภูมิลำเนาอยู่ทางหลวงพระบางฝั่งประเทศลาว เมื่อมาพักอาศัยอยู่ ณ.สถานที่แห่งนี้พอสมควรแล้ว ก็จึงกล่าวปรารภขอสถานที่แห่งนี้กับโยมพ่อใบ ปันทะนนท์ แม่จอน ปันทะนนท์ และมีแม่ออกบัน ปันทะนน พ่อออกส่วน กงกาหน ผู้ลูกสาว ลูกเขยได้มาส่งจังหันทุกวันและเป็นเจ้าของผืนดินแห่งนี้ ซึ่งตอนนั้นแม่ออกบัน ปันทะนน มีอายุได้ ๑๖ ปี ได้พร้อมใจกันถวายอาวาสสถานที่แห่งนี้ และได้กันบริเวณที่ผืนนี้ไว้เป็นที่สร้างวัดต่อมา)และหลวงพ่อแพงนั้น ความที่มีอายุมากกว่า ๖๐ กว่าปี ก็มีสุขภาพแปรปรวน จึงได้อยู่พักอาศัยอยู่ ณ.อาวาสแห่งนี้ได้เพียง ๓ ปี จึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนาไป และหลังจากนั้นยังเห็นท่านกลับมาเยี่ยมเยียนที่นี้อีกเป็นบางคราวและหลังจาก ๑๐ปีให้หลังจึงไม่เห็นท่านกลับมาอีกเลย จึงทำให้อาวาสสถานที่แห่งนี้รกร้างเรื่อยมาเหลือดเพียงกุฏิไม้ที่สร้างไว้มาตรฐานแข็งแรงที่ยังได้เห็นเป็นหลักฐานหลังหนึ่ง ซึ่งได้ทำการบูรณะแล้วปัจจุบันได้ย้ายไปตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัด ต่อมามีพระภิกษุมาพักอาศัยอยู่บ้าง แต่แม้จะอยู่นานก็เพียง ๑ เดือน ๒ เดือนหรือมากกว่านั้นบ้าง แล้วก็จากไป บางทีมีพระภิกษุมาอยู่ ๓ วัน ๕ วันแล้วก็จากไป ไม่เคยมีพระภิกษุมาอยู่จำพรรษาอีกเลย
กระทั่งปีพ.ศ. ๒๕๑๙ มีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานที่ดินมาปฏิรูปจัดสรรสถานที่แห่งนี้เป็นโคกป่าช้าสาธารณะ แทนที่จะเป็นธรณีสงฆ์ (แต่แท้จริงแล้วพบหลักฐานจากสารระบบเล่มที่๒๓ หน้า๑๑๔เลขที่๒๑๐ ใบจอง(น.ส.๒) ลงวันที่๑๐กันยายน ๒๕๑๘ สารระบบเล่มที่๑๑ หน้า๘๖เลขที่๔๑๗ หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.๓) ลงวันที่๓๑มกราคม ๒๕๒๐ สารระบบเล่มที่๓๒ ก.หน้า๒๙ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก.) ลงวันที่๑๔พฤษภาคม ๒๕๓๐ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าสถานที่ตั้ง ณ.ที่นี้เป็นที่วัด เป็นเขตวัด ชื่อวัดคำพิมูล และมาสมัยสารบัญทะเบียนที่ดิน เล่มที่๒๓๔๔เลขที่๒๔ หน้า๔๔ หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน(ส.ป.ก. ๔-๐๑ ก) ลงวันที่๒๘ ตุลาคม ๒๕๓๖ ก็มีกำกับไว้ว่าสถานที่ตั้ง ณ. ที่นี้เป็นเขตวัดป่า พอมาปีพ.ศ.๒๕๓๗จึงกลับมีการออกเอกสารลักษณะว่าเขตวัดป่าคำพิมูลนี้เป็นโคกสาธารณะประโยชน์ ออก (น.ส.ล.) หนังสือสำคัญแสดงที่หลวง แต่พอถึงปีพ.ศ. ๒๕๓๙ มีหนังสือเอกสารเป็นโฉนดที่ดิน หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ ตำแหน่งที่ดินระวาง 5742 IDI 5010 ที่ดินหมาเลข ๓๕ ลงวันที่๑๐ มกราคม ได้ระบุว่าด้านทิศเหนือของที่ดินหมายเลขนี้คือวัดคำพิมูล ที่ธรณีสงฆ์ แต่วันที่๖ มกราคม ๒๕๔๐ กลับมีเอกสารหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงออกมาว่า พื้นที่ธรณีสงฆ์ผืนนี้เป็นโคกสาธารณะ พลเมืองใช้ร่วมกัน อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย มีเนื้อที่ ๒๐ ไร่ ๒ งาน ๑ ตารางวา)
นี่เพราะเหตุที่ไม่มีพระภิกษุมาอยู่จำพรรษาสืบทอดต่อเนื่องกันจึงไม่มีถาวรวัตถุหรือสิ่งก่อสร้างอื่นใดเป็นหลักฐาน นอกจากกุฏิทรงไทยเพียงหลังเดียวที่เหลืออยู่ซึ่งสร้างขึ้นสมัยที่สร้างสถานที่นี้ให้เป็นวัดในคราวแรกๆ ซึ่งกาลต่อมาได้บูรณะส่วนที่ใช้การได้ของกุฏิหลังนี้เพิ่มเติมแล้วยกย้ายไปตั้งลงทางทิศเหนือของวัด อนึ่งในสมัยนั้นชาวบ้านยังไม่มีหลักฐานใดหรือแม้ใบเอกสารการถือกรรมสิทธิ์แม้แต่โรงเรียนก็ยังไม่มี และกำลังพึ่งเริ่มดำเนินการสร้างโรงเรียนกันอยู่ ชาวบ้านสมัยนั้นทำมาหากินกันด้วยการบุกป่าถางพงเอาแล้วแต่ว่าใครจะมีความขยันหมั่นเพียรเอาตามความสามารถของตนได้แต่ชาวบ้านก็เรียกกันติดปากมาว่าวัดป่าติดปากมาจนเท่าถึงปัจจุบัน)สถานที่แห่งนี้ก็รกร้างเรื่อยมาด้วยอาการอย่างนี้จนถึงปีพ.ศ. ๒๕๔๖ก็มีการดำเนินการสร้างฌาปนะสถานขึ้นและมีพระภิกษุจากวัดสะอาดสมศรี วัดประจำหมู่บ้านมาอยู่จำพรรษาอยู่ ณ.อาวาสแห่งนี้อย่างจริงจังอีกเพียง ๖ ปี แล้วก็ลาสิกขาไปหมดอีก อาวาสแห่งนี้ก็รกร้างมาอีก
(ส่วนนิมิตหมายที่อาวาสแห่งนี้มีชื่อว่าวัดป่าธรรมนิติหรืออาวาสป่าธรรมนิตินั้นเนื่องมาจากพระอาจารย์ประสิทธิ์ กงกาหน พระลูกหลานบ้านคำพิมูล ปัจจุบันพำนักอยู่ ณ อาวาสวัดห้วยป่าบง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่บ้าน และพระอาจารย์หลอด โสภาพร พระลูกหลานบ้านคำพิมูลเช่นกัน (ปัจจุบันได้ลาสิกขาแล้ว) ได้พูดคุยปรารภกันถึงมงคลนามนี้จากหนังสือธรรมะเล่มนึง จึงได้ถือเอานิมิตหมายแห่งนามนี้ตั้งเป็นชื่อวัดตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ นั้นเป็นต้นมา และพระอ.หลอด โสภาพร มาจำพรรษาอยู่เป็นรูปแรกในปีนั้น) จนถึงปีพ.ศ. ๒๕๕๒ ก็มีพระชำนาญ กมฺมสุทฺโธ ซึ่งเป็นคนชลบุรี หลังจากศึกษาปฏิบัติธรรมและอยู่วิเวกในที่ต่างๆ มาหลายปี จนมาถึงที่อาวาสแห่งนี้ เห็นว่าเป็นที่ สับปายะพออยู่ได้ จึงพักอาศัยอยู่อาวาสแห่งนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และจากข้อมูลที่มีบันทึกรักษาเก็บไว้อยู่ที่อ.บ.ต. ทุ่งคลอง คือ.พื้นที่ที่ดินที่เหลืออยู่ของอาวาสป่าธรรมนิตินี้ มีเหลืออยู่เพียง ๒๐ ไร่บริบูรณ์
ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมประวัติอาวาสวัดป่าธรรมนิติ
วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ คุณตาวิจิตร รินทราช ได้เข้าร่วมประชุมกับสภาตำบลทุ่งคลอง โดยนายถาวร บุตรศรี เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ความสรุปหลังจากที่ประชุมแล้วเสร็จนั้นว่า จะมีงบประมาณสร้างเมรุมาให้ในปีพ.ศ. ๒๕๔๗ ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ดังนั้นคุณตาวิจิตร รินทราช จึงมีใจเป็นกุศลคิดจะเป็นเจ้าภาพสร้างศาลาพักญาติ จึงได้ชักชวนเพื่อนบ้านหลายคนหลายท่านมาดูสถานที่ และปรับเตรียมสถานที่ที่จะสร้างเมรุและศาลาพักญาติ โดยมีอดีตผู้ใหญ่บ้านและอดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น และคนอื่นๆอีกหลายคนพร้อมกับได้นิมนต์พระวัดสะอาดสมศรีวัดประจำหมู่บ้านให้ร่วมมาดูเตรียมสถานที่ด้วย จึงได้มีการก่อสร้างสิ่งต่างๆเพิ่มเติมขึ้นมาโดยลำดับดังนี้.
วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๔๖ คุณตาวิจิตร รินทราช พร้อมเพื่อนบ้านออกสำรวจเตรียมปรับสถานที่สร้างเมรุ และปีนี้มีภิกษุจำพรรษา๑รูปคือพระอาจารย์หลอด โสภาพร
วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๖ กำหนดจุดสถานที่ที่สร้างศาลาพักญาติ และที่สร้างเมรุ
วันที่ ๘-๙ มิถุนายน ๒๕๔๖ ชาวบ้านช่วยกันถางหญ้า และใช้รถไถดันปรับพื้นที่
วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๖ ติดต่อนำพัสดุก่อสร้างเช่นไม้ หิน ทราย ปูน และเสาปูนมาลง
วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๖ ครอบครัวของนายสมัครนางเสริม จันทร์ทะวันได้บริจาคโอ่งใหญ่มาให้ ๒ ใบ
วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ เริ่มลงมือสร้างศาลาพักญาติ มีตีผัง ขุดหลุมเสา เป็นต้น.
วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๖ ชาวบ้านร่วมช่วยกันยกตั้งเสาศาลาพักญาติ
วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ได้นิมนต์พระวัดสะอาดสมศรีมารับถวายศาลาพักญาติ ทั้งกุฏิและโรงครัว (คือเริ่มสร้างในคราวเดียวกันเสร็จโดยคุณตาวิจิตรและน.ส.บังอร รินทราช บุตรสาว เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย)
วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ได้ไปอันเชิญพระพุทธรูปประธานซึ่งได้รับเมตตามาจากวัดหนองยางเหนือมาประดิษฐาน ณ.ศาลาพักญาติ พร้อมกับอุปกรณ์อื่นๆ
วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๖ จัดการทำบุญฉลององค์พระและสถานที่อาวาสป่าธรรมนิติ ซึ่งมีภิกษุที่ได้รับนิมนต์มาร่วมบุญด้วยรวมจำนวน ๑๓ รูป มีเจ้าคณะอำเภอ พระครูโสภณปัญญาพรเป็นประธานในพิธี
วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๔๖ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๓ และหมู่ ๑๑ บ้านคำพิมูลในสมัยนั้น ได้นำพาชาวบ้านมาถวายกุฏิเพิ่มอีก ๒ หลัง
วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ผู้รับเหมาก่อสร้างได้นำสิ่งก่อสร้างมาลง ณ.บริเวณจุดที่สร้างเมรุ
วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ ช่างก่อสร้างเริ่มลงมือสร้าง และกำหนดราคาก่อสร้าง ๓๙๐,๐๐๐ บาท และในปีนี้มีพระภิกษุอยู่จำพรรษาในอาวาสป่าธรรมนิตินี้รวม ๓ รูป
วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ เมรุของอาวาสป่าธรรมนิตินี้ก็สร้างแล้วเสร็จพอดี.
วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ วิทยาลัยการอาชีพ บ้านคำพิมูล อ.คำม่วงมาเจาะน้ำบาดาลให้เป็นครั้งแรก
วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๘ ทำการสร้างหลังคาศาลาพักญาติขยายต่อจากหลังเดิม
วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ ได้ยกร่างศาลาโรงธรรมหลังใหม่ (ศาลาการเปรียญ) ที่ยกโครงไว้แล้วนาน ทำต่อเติมมาจนแล้วเสร็จในปี ๒๕๕๓ พร้อมกับการบูรณะโรงครัวหลังเดิม จนใช้การได้ดีขึ้นโดยได้รับการดูแลการบูรณะสร้างจากคุณบังอร รินทราช และในปีนี้พระชำนาญกมฺมสุทฺโธ ก็ได้มาอยู่จำพรรษาเป็นรูปแรก ต่อจากการที่รกร้างมา.....
ข้อมูลชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน
บ้านโนนเฮือง (คำพิมูลเก่า)เริ่มตั้ง ปี พ.ศ. ๒๔๔๑
บ้านป่าบุ่น (คำพิมูลใหม่)เริ่มตั้ง ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ สมัยพ่อออกส่วน กงกาหน ผู้ให้ข้อมูล อายุ ๑๔ ปี ในสมัยนั้น
บ้านโนนเฮืองกับบ้าน ป่าบุ่นคำพิมูล เวลาห่างกัน ๔๒ ปี หลังจากบ้านโนนเฮืองล่มสลายไปด้วยโรคภัย
วัดสะอาดสมศรีเริ่มสร้าง ปี พ.ศ. ๒๔๘๕
บ้านป่าบุน (คำพิมูล)แยกเป็น ๒ หมู่บ้าน ปี พ.ศ. ๒๕๔๐
โรงเรียนบ้านคำพิมูลเริ่มสร้าง ปี พ.ศ. ๒๔๘๘
วัดป่าธรรมนิติ(วัดป่า บ้านป่าบุ่น) เริ่มสร้าง ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ในสมัยคุณพ่อใบ ปันทะนน คุณแม่จอน ปันทะนน ผู้เป็นบิดา มารดา และนางบัน ปันทะนน ผู้บุตรสาว ได้พร้อมใจกันถวายที่สร้างวัดป่า บ้านป่าบุ่นซึ่งเป็นเวลาห่างจากปี่ที่สร้างวัดสะอาดสมศรีได้ ๔ ปี และนางบัน ปันทะนน มีอายุได้ ๑๖ ปี ในสมัยนั้น
วัดป่าห้วยป่าบงเริ่มสร้าง ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ในสมัยเริ่มโครงการบูรณะวัดป่า บ้านป่าบุ่นและเตรียมสร้างฌาปนสถาน
รวมระยะเวลาการเกิดขึ้นของชุมชนบ้านป่าบุ่น(คำพิมูล) กับพุทธสถานจากปี พ.ศ.๒๔๔๑
ถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๘ มีดังนี้.
วัดป่าห้วยป่าบง ตั้งแต่เริ่มสร้าง ถึงปี พ.ศ.๒๕๕๘ รวม ๑๓ ปี
วัดป่าธรรมนิติ(วัดป่า บ้านป่าบุ่น) ตั้งแต่เริ่มสร้าง ถึง ปี พ.ศ.๒๕๕๘ รวม๖๙ ปี
วัดสะอาดสมศรี ตั้งแต่เริ่มสร้าง ถึงปี พ.ศ.๒๕๕๘ รวม๗๓ ปี
โรงเรียนบ้านคำพิมูล ตั้งแต่เริ่มสร้าง ถึง ปี พ.ศ.๒๕๕๘ รวม ๗๐ ปี
บ้านป่าบุ่น (คำพิมูล) จากสมัยบ้านโนนเฮือง ถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ.๒๕๕๘ รวม ๑๑๗ ปี
ส่วนชื่อวัดป่าธรรมนิติ นั้นตั้งโดยพระลูกหลานบ้านคำพิมูลใน ปีพ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งท่านมาอยู่พำนักอยู่ ณ.อาวาสแห่งนี้ เพียงระยะหนึ่ง แล้วก็หลีกไปอยู่ทางอื่นซึ่งก็มีพระอยู่จำพรรษาในอาวาสนี้เพียง ๕-๖ ปี แล้วก็รกร้างมาอีก
จนถึงปีพ.ศ. ๒๕๕๒ ก็มีพระชำนาญ กมฺมสุทฺโธ เป็นคนชลบุรี หลังจากศึกษาปฏิบัติธรรมและอยู่วิเวกในที่ต่างๆ มาพอสมควรจนมาถึงที่อาวาสแห่งนี้ เห็นว่าเป็นที่ สับปายะพออยู่ได้ จึงพักอาศัยอยู่อาวาสแห่งนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน อาวาสป่าธรรมนิติ ป่าคำพิมูลนี้ มีเหลืออยู่เพียง ๒๐ ไร่บริบูรณ์