เชิญกราบบูชาสักการะองค์หลวงพ่อพุทธเมตตาประธานพร









เชิญกราบบูชาสักการะ

องค์หลวงพ่อพุทธเมตตาประธานพร

เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนและครอบครัว

เพื่อความร่มเย็นเป็นสุข ความมั่งมีศรีสุข

และความอยู่ดีมีสุขได้บังเกิดมีแก่เราเหล่าสาธุชน

คนดีทั้งหลายตลอดกาลนาน.



เชิญร่วมบุญสร้างกุฏิมาตรฐานพร้อมห้องน้ำในตัวถวายเป็นของสงฆ์และเพื่ออนุเคราะห์อุบาสิาผู้เฒ่า

จากบทความหน้าเวปไซร์  วันศิลป์ พิรศรี

                                          บิดาแห่งวงการศิลปะ  15 กันยายน 2563

 สติ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร กับ สัมมาสมาธิและอริยมรรคมีองค์ 8

กระทู้คำถาม
มหาจัตตารีสกสูตร
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=3724&Z=3923
//////////////

เคยได้ยินพระสายป่า ท่านเทศน์บ่อยครั้ง และเป็นคล้ายๆสูตรย่อไปเลยทีเดียวว่า
เราต้องมี สติ ปัญญา สัทธา ความเพียร ก็แบบสงสัยนิดๆว่า เอ้
ธรรมะมีตั้งหลายข้อ หลายแง่ หลายมุม ทำไมท่านถึงเน้นย้ำ
หรือเทศน์สูตรย่อ ยังกับว่า ขอให้มี สติ ปัญญา สัทธา ความเพียรเถอะ บรรลุแน่ๆ

เมื่อได้อ่าน มหาจัตตารีสกสูตร จึงถึงบางอ้อว่า มันเป็นสูตรย่อจริงๆ
ในมหาจัตตารีสกสูตร พระศาสดาท่านตรัสสอนเรื่อง สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ
ที่ประกอบด้วยองค์ 7 (ซึ่งเมื่อรวมกับสัมมาสมาธิ ก็คืออริยมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง)
โดยในองค์ 7 จะมี สัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้า มีสัมมาวายามะ(ควมเพียร) และสัมมาสติ(ความระลึกได้) แวดล้อม
เป็นองค์ประกอบร่วม 

ทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ / 5 องค์นี้ ผู้ใดจะรู้ได้ว่าแต่ละองค์ๆ เป็นสัมมา หรือเป็นมิจฉา
นั้นก็รู้ได้ด้วยอาศัย สัมมาทิฏฐิ ถ้าไม่มีสัมมาทิฏฐิ ก็จะเห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด
ส่วน วายามะ กับ สติ / 2 องค์นี้ จะเป็นไปตาม ทิฏฐิ ถ้าทิฏฐิเป็นมิจฉา ก็มิจฉาตาม
ถ้าทิฏฐิเป็นสัมมาก็เป็นสัมมา ตามกันไปอัตโนมัติเลยทีเดียว

ทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ / 5 แต่ละองค์นี้
จะถูกแวดล้อมด้วยองค์ 3 คือ ทิฏฐิ วายามะ และ สติ
เช่น ถ้าเป็น ฝ่าย สัมมา (ถ้าเป็นฝ่ายมิจฉา ก็จะเป็นตรงข้าม)
1.สัมมาทิฏฐิ แวดล้อมด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
2.สัมมาสังกัปปะ แวดล้อมด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
3.สัมมาวาจา แวดล้อมด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
4.สัมมากัมมันตะ แวดล้อมด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
5.สัมมาอาชีวะ แวดล้อมด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
(ตั้งข้อสังเกตุว่า องค์7 นี้ หรือ 5 ข้อนี้ มีได้ ต้องอยู่ในสมาธิระดับฌานหรือไม่...ฯ)

แล้ว สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ แวดล้อมทำหน้าที่อะไร
สัมมาทิฏฐิ ทำหน้าที่แยกแยะว่าอะไรเป็นสัมมา อะไรเป็นมิจฉา (แยกแยะดีชั่ว บุญบาป)
สัมมาวายามะ ทำหน้าที่เพียรพยายามละมิจฉา เพื่อบรรลุสัมมา เมื่อแยกแยะดีชั่วบุญบาปได้แล้ว
สัมมาสติ ทำหน้าที่ระลึกรู้เพื่อละมิจฉา ระลึกรู้เพื่อบรรลุสัมมา

ดังนั้น การที่ท่านสอนสูตรย่อว่าให้มี สติปัญญา สัทธาความเพียร ก็เท่ากับสอนให้เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง
แต่เป็นบทย่อ หรือบทที่เป็นมุมมองในมุมการปฏิบัติ เพราะในทางปฏิบัติ อาจมีผู้สงสัยว่า อริยมรรคมีองค์ 8
มีตั้ง 8 องค์ จะปฏิบัติได้อย่างไร ท่านจึงสอนบทย่อในแง่มุมการปฏิบัติ ว่าก็ให้มี สติปัญญา สัทธาความเพียร ก็แล้วกัน
เพราะว่า
สติ ในที่นี้คือ สัมมาสติ 
ปัญญาและสัทธา ในที่นี้คือ สัมมาทิฏฐิ
ความเพียร ในที่นี้คือ สัมมาวายามะ นั่นเอง
ดังนั้น ขณะใดเรามี สติปัญญา สัทธาความเพียร ท่านก็หมายถึงเรามี สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ และสัมมาสตินั่นเอง
และเมื่อมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ และสัมมาสติ
ทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ / 5 แต่ละองค์นี้ ก็จะเป็นสัมมาตามไปด้วยอัตโนมัติ
และในเมื่อ ทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ เป็นสัมมาครบ 7 องค์
ท่านว่าสัมมาทั้ง 7 องค์ที่แวดล้อม สมาธิ สมาธินั้นก็เป็นสัมมาสมาธิ

ถ้าเราภาวนาให้เกิดสติปัญญา สัทธาความเพียร เป็นประจำ
ก็เท่ากับเราเพียรเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 นั้นเอง

///
[๒๓๘]   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตผลด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้  แต่การตั้งอยู่ในอรหัตผลนั้น   ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ   ด้วยการทำโดยลำดับ   ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ  
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็การตั้งอยู่ในอรหัตผลย่อมมีได้.   ด้วยการศึกษาโดยลำดับ   ด้วย
การทำโดยลำดับ   ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   กุลบุตรในธรรมวินัยนี้  
/เกิดศรัทธา/แล้วย่อมเข้าไปใกล้   
เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้
เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง  
เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อม/ฟังธรรม/   
ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้     
ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว     
เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ   
เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่  ฉันทะย่อมเกิด    
เมื่อเกิดฉันทะแล้วย่อมอุตสาหะ    
ครั้นอุตสาหะแล้วย่อมไตร่ตรอง   
ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร   
เมื่อมีตนส่งไป ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย      และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้น
ด้วยปัญญา   

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ศรัทธาก็ดี   การเข้าไปใกล้ก็ดี    การนั่งใกล้ก็ดี   การเงี่ยโสตลงก็ดี   การฟังธรรมก็ดี     การทรงจำธรรมก็ดี    การพิจารณา
เนื้อความก็ดี  ธรรมอันได้ซึ่งความพินิจก็ดี   ฉันทะก็ดี  อุตสาหะก็ดี  การไตร่ตรองก็ดี   การตั้งความเพียรก็ดี   นั้น ๆ   ไม่ได้มีแล้ว   เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด    ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    โมฆบุรุษเหล่านี้ 
ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้   ไกลเพียงไร.

///

อีกนัยหนึ่ง ในสติปัฏฐาน4 เมื่อพิจารณาเห็นกายในกาย หรือเวทนาในเวทนา หรือจิตในจิต หรือธรรมในธรรม แล้ว ///มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ/// กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

สติปัญญาสัทธาความเพียร นอกจากเกี่ยวกับอริยมรรค8 แล้ว ก็เกี่ยวกับสติปัฏฐาน4 ด้วย
แก้ไขข้อความเมื่อ 

 

8 ความคิดเห็น
 
 
ความคิดเห็นที่ 1
 
ถามท่าน จขกท  ว่า...ต้องเห็นอย่างไร?  

จึงจะเรียกว่า...เป็นการเห็นแบบสัมมาทิฏฐิ ครับ
 
 
ความคิดเห็นที่ 2
 
สาธุ
ยิ้ม
 
 
ความคิดเห็นที่ 3
 
................_/|\_.................

ขออนุญาติเพิ่มเติม

เครื่องแวดล้อม ทั้ง 7 องค์ ที่แวดล้อมสัมมาทิฐิใดเครื่องแวดล้อมทั้ง 7 นั้นก็เป็นสัมมาโดยปริยาย
(หมายความว่า องค์มรรค ทั้ง 7 ข้อที่เหลือ ถ้ามี สัมมาสมาธิเป็นหัวหน้าเป็นประธาน เป็นผู้นำ ถ้า ผู้นำถูก สิ่งที่เหลือตามมาทั้งหมด ก็จะถูกไปด้วยกันทั้งหมด เช่นกัน  มิจจฉาทิฐิ ก็มีเครื่องแวดล้อม 7 เหมือนกัน คือ มิจฉาทั้ง 7 ที่เหลือ (มิจฉามรรค) ก็ผิดไปทั้งสาย

สัมมาทิฐิ = กระดุมเม็ดแรก (ถ้าเม็ดแรกกลัดถูก เม็ดต่อไป เป็นสัมมาหมดโดยปริยาย อัตโนมัติ)

สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ ถูก สัมมา) ทำหน้าที่เพียรพยายามละ อกุศล อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กิเลส เหตุให้เกิดทุกข์ทั้งหมด เพื่อให้ หาย ให้หมด ให้สิ้น ไม่ให้มี ให้ไม่กลับกำเริบ ขึ้นในจิตใจ ความรู้สึก ความนึกคิด ( เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ละแล้ว มิให้เกิดขึ้นอีก เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่ง

  
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ ถูก สัมมา) ทำหน้าที่ระลึกรู้เพื่อละ อกุศล อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กิเลส เหตุให้เกิดทุกข์ทั้งหมด)  เพื่อให้ หาย ให้หมด ให้สิ้น ไม่ให้มี ให้ไม่กลับกำเริบ ขึ้นในจิตใจ ความรู้สึก ความนึกคิด

จนถึง.......  สัมมาสมาธิ
 
 
ความคิดเห็นที่ 4
 
อนุโมทนาทุกความคิดเห็นนะครับ

"......ดูกรภิกษุทั้งหลาย......

เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้......

                    

......ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้

ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาสมาธิ
เป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาสมาธิสลัดได้แล้ว

และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญ บริบูรณ์
เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย ฯ......"
 
 
ความคิดเห็นที่ 5
 
โพธิปัฏขิยธรรม ๓๗ ประการ (ร่วมทั้งมรรคมีองค์ ๘ โพชฌงค์ ๗) นั้น ต้องอาศัญการปฏิบัติธรรมในสติปัฏฐาน ๔  จนเป็นปัจจุบัน แล้วลงเป็นปัจจุบันขณะ เห็น รูป นาม เกิด ดับ ด้วยภาวนามยปัญญานั้น

  ถ้าเพียงอาศัยแต่ ธรรมบัญญัติ ที่เกิดสุตมยปัญญา และ จินตมยปัญญา ย่อมไม่สามารถ  บรรลุถึงได้

   ดังนั้นเมื่อศึกษาธรรมบัญญัติ ก็ต้องประกอบด้วยการปฏิบัติธรรมอย่างยิ่งในสติปัฏฐาน ๔  จึงจะเกิด โพธิปัฏขิยธรรม ๓๗ ประการประชุมรวมกันเป็นหนึ่ง เป็นมรรคสมังคีได้

     เมื่อยังไม่แจ้งในการ เกิดดับ ของจิต หรือ รูป นาม   ก็จงอย่าเข้าใจผิดว่า ตนศึกษาปฏิบัติถึงเริ่มต้น วิปปัสสนาญาณ ๙ แล้ว  และเมื่อยังไม่เกิดมรรคสมังคีขึ้น  ก็จงอย่าหลงเข้าใจไปเสียก่อนว่า ตนเป็นพระโสดาบันไปเสียก่อน

    ปัญญาวิมุตติ ก็ดี  เจโตวิมุตติ ก็ดี  ต้องก็ย่อมเกิดเห็นแจ้งใน รูป นาม เกิดดับ หรือ จิต เกิดดับ และปรากฏมรรคสมังคีอย่างชัดแจ้ง  เข่นเดียวกันทั้งนั้น
      ไม่ใช่เข้าใจผิดไปว่า  ปัญญาวิมุตติ  จะไม่เกิดมี รูปนาม เกิดดับ ให้แจ้งชัด (หรือ จิต เกิดดับ)  และไม่ปรากฏมรรคสมังคี  ซึ่งเป็นสภาวะธรรมพื้นฐาณทีเกิดกับ ทั้งปัญญาวิมุตติ และ เจโตวิมุตติ เข้าสู่ความเป็นพระอริยะ   ซึ่งเป็นคนละอย่างกับ ฌานระดับต่างๆ และ อภิญญา
แก้ไขข้อความเมื่อ 
 
 
ความคิดเห็นที่ 6
 
มหาจัตตารีสกสูตร หลายคนรู้จัก ทำความเข้าใจและอธิบายกันไปต่างๆ ก็พอตามศึกษาได้ แต่อยากทราบว่า จขกท. ปฏิบัติอย่างไร?
Visitors: 36,771